เวลาทำการ

จันทร์-ศุกร์

09-00-18.00 น.

เราช่วยคุณได้

taladtour

Travel License : 11/11173

หน้าแรก

/

บทความท่องเที่ยว

/

เที่ยวตุรกี ฮาเกียโซเฟีย อิสตันบูล ประเทศตุรกี การจลาจลนิก้า Nika Revolt ตอนที่3

เที่ยวตุรกี ฮาเกียโซเฟีย อิสตันบูล ประเทศตุรกี การจลาจลนิก้า Nika Revolt ตอนที่3

22

Mar

ตุรกี

เที่ยวตุรกี ฮาเกียโซเฟีย อิสตันบูล ประเทศตุรกี การจลาจลนิก้า Nika Revolt ตอนที่3

ฮาเกียโซเฟีย (Hagia Sophia) มหาวิหารสุดอลังการล้ำค่า แต่ถูกเผาทำลาย ด้วยน้ำมือชาวคอนสแตนติโนเปิล เพราะอะไรน่ะรึ ชาขมอยากเล่าเรื่องการจลาจลนิก้านี้สั้นๆ นะคะ เพราะน่าสนใจอยู่ไม่น้อย แต่เอ๊ะ.. เล่าไปแล้วยาว เลยแยกมาเป็นภาค 3 ให้เพื่อนๆ ได้ติดตามกันนะคะ ^_^

วันที่หนึ่ง - การเชียร์กีฬาแข่งรถม้า ในยุคจักรวรรดิไบเซนไทน์

เรื่องมีอยู่ว่า.. ในยุคจักรวรรดิไบเซนไทน์ และโรมันโบราณมีการจัดตั้งสมาคม หรือกลุ่มแฟนคลับในการเชียร์กีฬาแข่งรถม้า โดยแบ่งทีมกลุ่มเป็น 4 สีด้วยกัน คือสีน้ำเงิน สีเขียว สีแดง และสีขาว และในยุคไบเซนไทน์ ทีมสีน้ำเงิน และสีเขียวเป็นทีมที่มีอิทธิพลอย่างมาก และจักรพรรดิจัสติเนียน (Emperor Justinian I) ทรงสนับสนุนทีมสีน้ำเงิน ทีมเหล่านี้มีการรวมกลุ่มเพื่อสนันสนุนในงานหลายด้านทั้งด้านสังคม และการเมือง ทั้งยังมีการร่วมมือกันของแก๊งอันธพาล และพรรคการเมือง เริ่มมีการท้าทายอำนาจของจักรพรรดิ มีการตะโกนความคิดความต้องการทางการเมืองในสนามแข่ง และมีกลุ่มขุนนางในคนกลุ่มนี้ที่มีความคิดในการล้มบัลลังก์  ปี ค.ศ.531 สมาชิกของกลุ่มสีน้ำเงิน และสีเขียวถูกจับกุม ในคดีอาชญากรรมอันเนื่องจากมีคนตายเพราะเหตุตีกันหลังการแข่งรถม้า เหมือนบอลจบ คนไม่จบ ตีกันหลังบอลแข่งเสร็จในสมัยนี้น่ะค่ะ

วันที่สอง - ความตึงเครียดในปี ค.ศ.532

ปี ค.ศ.532 ความตึงเครียด และความโกรธเกรี้ยวเดินทางมาถึงการแข่งขันที่ฮิปโปรโดรม ซึ่งที่นี่จัสตินเนียนจะชมการแข่งขันจากห้องที่ปลอดภัยในวัง ในการแข่งขันจากที่ผู้คนจะร้องเชียร์สีตัวเองว่า “สีน้ำเงิน” หรือ “สีเขียว” กลับร้องตะโกนว่า “นิก้า” ซึ่งแปลว่า ชัยชนะ และฝูงชนเริ่มทำลายพระราชวัง 5 วันต่อมาวังถูกล้อม และผู้คนเริ่มเผาเมือง เผาทำลายโบสถ์ล้ำค่า รวมทั้งฮาเกียโซเฟีย (ซึ่งที่สุดแล้ว ก็จัสติเนียนเป็นผู้

บูรณะอีกทีล่ะค่ะ)เมื่อเหตุการณ์ลุกลามรุนแรงดังนี้ จักรพรรดิจัสติเนียนจึงต้องการจะหลบหนี แต่จักรพรรดินีธีโอโดร่า (Empress Theodora) เหนี่ยวรั้งไว้ด้วยคำโบราณว่า “ราชวงศ์นั้นจะต้องมีผ้าห่อพระศพชั้นเลิศ” (“Royalty is a fine burial shroud.”) คือก็ต้องตายอย่างมีเกียรติล่ะค่ะ ไม่ใช่หนีออกจากวังจากเมืองเช่นที่คิดนี้

วันที่สาม - ความสูญเสียจากการจลาจล

จัสติเนียนจึงทรงรวบรวมไพล่พลลับๆ นาเซส ขันทีมือฉมัง (Narses, the eunuch) และนายพล Belisarius และนายพล Mundus โดยจัสติเนียมได้เอาถุงทองคำให้นาเซสไปเจรจา โดยฝ่าเข้าไปในฮิปโปรโดรมคนเดียว และไม่มีอาวุธใดๆ ซึ่งขณะนั้นมีผู้คนนับร้อยถูกฆ่า นาเซสตรงไปยังผู้นำของสีน้ำเงิน และย้ำเตือนว่าจักรพรรดิจัสติเนียนทรงสนับสนุนทีมสีน้ำเงินนะ และคนที่พวกจลาจลทั้งหมดอยากแต่งตั้งให้ครองบัลลังก์แทน คือ ไฮพาทิอุส (Hypatius) (ซึ่งเป็นหลานของจักรพรรดิอนาสตาซิอุสที่ 1 (Emperor Anastasius I) นั้นเป็นคนของสีเขียว และให้ทีมสีน้ำเงินแบ่งทองคำกัน เพื่อรวบรวมพลพรรคอย่างเงียบๆ และในวันบรมราชาภิเษกของไฮพาทีอุส ทีมสีน้ำเงิน ก็ถาโถมรุกเข้าไปในฮิปโปรโดรม ซึ่งทีมสีเขียวได้แต่นั่งตะลึงงัน ไม่คาดคิด ทันใดนั้นกองกำลังของนายพล Belisarius และนายพล Mundus ก็ได้รุกเข้าฆ่าฟันเหล่ากบฏ จากเหตุการณ์นี้ผู้คนประมาณ 30,000 คนถูกฆ่าตาย จัสติเนียนปลงพระชนม์ไฮพาทิอุส และเนรเทศเหล่าขุนนางที่เข้าข้างพวกกบฏ พระองค์ทรงบูรณะกรุงคอนสแตนติโนเปิล และฮาเกียโซเฟีย รวมทั้งผ่อนผันกฎหมายใหม่และโครงสร้างภาษีที่สูงขึ้น และมุ่งหน้าสร้างเมืองใหเป็นจักรวรรดิโรมันอันยิ่งใหญ่ตามความฝันของพระองค์ เมื่อนึกภาพความเสียหาย และความสูญเสียจากการจลาจลครั้งนี้แล้ว ก็เชื่อค่ะว่าเป็นความย่อยยับจากความวุ่นวายภายในเองครั้งใหญ่สุดของกรุงคอนสแตนติโนเปิล แต่ภาพของฮิปโปรโดรมในวันนี้ก็เป็นที่ที่น่าชม น่าเดินเล่น บรรยากาศดี วิวสวย และเพื่อนๆ ต้องไม่พลาดเลยนะคะ ถ้ามีโอกาสไปเยือนอิสตันบูลค่ะ