เวลาทำการ

จันทร์-ศุกร์

09-00-18.00 น.

เราช่วยคุณได้

taladtour

Travel License : 11/11173

หน้าแรก

/

บทความท่องเที่ยว

/

10 อยากเที่ยวประเทศโครเอเชีย รู้จักโครเอเชียก่อนเดินทาง

10 อยากเที่ยวประเทศโครเอเชีย รู้จักโครเอเชียก่อนเดินทาง

22

Mar

โครเอเชีย

10 อยากเที่ยวประเทศโครเอเชีย รู้จักโครเอเชียก่อนเดินทาง

สาธารณรัฐโครเอเชีย
       -  ที่ตั้ง อยู่ระหว่างยุโรปกลาง  และเมดิเตอร์เรเนียน บริเวณริมฝั่งตะวันออกของทะเลเอ
            เดรียติก    
       -  พื้นที่ 56,542 ตารางกิโลเมตร
       -  เมืองหลวง  กรุงซาเกร็บ (Zagreb)
       -  ประชากร 4.4 ล้านคน  ประกอบด้วยชาวโครอัท (89.6%) ชาวเซิร์บ (4.54%) และ
            อื่นๆ ได้แก่ ชาวบอสเนีย  ฮังกาเรียน  สโลวีน  เช็ค (5.9%)
       -  ภูมิอากาศ  แบบเมดิเตอร์เรเนียนแถบชายฝั่งทะเลเอเดรียติก และภูมิอากาศเทือกเขาบริเวณ
            ตอนกลาง ของประเทศ อุณหภูมิโดยเฉลี่ย 14-27  องศาเซลเซียส
       -  ภาษา  โครเอเชียนเป็นภาษาราชการ ภาษาอื่นๆ ที่ใช้พูดกันโดยชนกลุ่มน้อยได้แก่ เซอร์เบียน ฮัง
            กาเรีน อิตาเลียน เยอรมัน อังกฤษ
       -  ศาสนา โรมันคาทอลิก 85.8% ออโธด๊อกซ์ 3.2% มุสลิม 11%
       -  หน่วยเงินตรา คูน่า (Kuna) อัตราแลกเปลี่ยนโดยประมาณ 4.66 คูน่า เท่ากับประมาณ 1  ดอลล่าร์สหรัฐ
       -  ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ 50.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2550)
       -  รายได้ประชาชาติต่อหัว 11,271 ดอลล่าร์สหรัฐ (2550)
       -  การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 5.4 (2550)
       -  ระบบการปกครอง  ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว  เรียกว่า Sabor  มี
            สมาชิก  152  คน  ประธานาธิบดีเป็นประมุข  โดยมาจากการเลือกตั้ง  และเป็นผู้แต่งตั้ง คณะ
            รัฐบาล  มีวาระ 5 ปี  ปัจจุบัน คือนาย Stjepan Mesic ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 18 
           กุมภาพันธ์  2553 ( ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสมัยที่ 2  เมื่อเดือนมกราคม 
        2558)  รัฐบาลปัจจุบันเป็นรัฐบาลผสมเสียงข้างมาก  ระวังพรรค Croatia 
        Democratic Union และพรรค Democratic Centre มี 19 จากเสียง
             ทั้งหมด 152 เสียง
 การเมืองการปกครองประเทศโครเอเชีย
1. โครเอเชียเดิมเป็นหนึ่งในหกสาธารณรัฐ  ซึ่งประกอบขึ้นเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยม ยูโกสลาเวีย (Socialist Federal Republic of Yugoslavia หรือ 

2. SFRY)  อยู่ภายใต้การนำของจอมพลติโต  ชาวโครอัท  ซึ่งสามารถควบคุมสถานการณ์ความแตกแยกระหว่างเชื้อชาติไว้ได้ในระดับหนึ่ง  อย่างไรก็ตามภายหลังการอสัญกรรมของจอมพลปิโตในปี 2523 ขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อแยกตัวเป็นเอกราชของสาธารณรัฐต่างๆ  ในยูโกสลาเวียเริ่มมีความรุนแรงขึ้น โครเอเชียจัดให้มีการเลือกตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2533  โดยประธานาธิบดี Franjo Tudjman ได้รับเลือกตั้ง  และต่อมาก็ได้ประกาศเอกราช SFRY ซึ่งทำให้เกิดการสู้รบระหว่างโครเอเชียกับชาวเซิร์บในโครเอเชียซึ่งมียูโกสลาเวียหนุนหลัง  และยุติลงเมื่อผู้นำโครเอเชีย เซอร์เบีย และบอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนา ได้ลงนามข้อตกลงสันติภาพเดย์ตัน ( Dayton Peace Accord ) เมื่อปี 2538
3. ภายหลังการอสัญกรรมของประธานาธิบดี Tudjman ในปี ๒๕๔๒ นาย Sijepan 
Mesic ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี คนใหม่ซึ่งเป็นผู้นําเสรีนิยมประชาธิปไตยรุ่นใหม่ ทําให้โครเอเชียพัฒนาไปอย่างมาก โดยได้ปรับเปลียนเป้าหมาย และนโยบายจากเดิมที่ให้ความสําคัญกับการต่อสู้เพื่อผนวกดินแดนบอสเนียและเฮอร์เซโกวินา ซึ่งมีชาวโครอัทอาศัยอยู่จํานวนมากเป็นการให้ความสําคัญกับการยุติความขัดแย้งกับบอสเนียฯ การปรับความสัมพันธ์กับประเทศยุโรปตะวันตก และการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ทั้งนี เมื่อเดือนมกราคม ๒๕๔๘ ประธานาธิบดี Stjepan Mesic ได้รับเลือกตังเป็นประธานาธิบดี สมัยที่ ๒ และจะดํารงตําแหน่งจนถึงปี ๒๕๕๓
4. เมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๐ โครเอเชียได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาทัวประเทศ ผลปรากฏว่า    
                   พรรค Croatian Democratic Union(HDZ)ต่อมาในวันที่ ๑๒ มกราคม  
                    ๒๕๕๑ รัฐสภาโครเอเชียได้ลงมติให้ความเห็นชอบต์อรัฐบาลชุดใหม่ที่มีนาย Ivo 
            Sanader เป็นนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยทีสอง ซึ่งคณะรัฐมนตรีชุดนี้ประกอบด้วยรอง
                     นายกรัฐมนตรี ๔ คน และรัฐมนตรี ๑๕ คน โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ คือ 
                     นาย Gordon Jandrokovic ซึ่งเป็นนักการเมืองรุ่นใหม่ และเป็นดาวรุ่งของพรรค 
             HDZ
    
   4. นโยบายของรัฐบาลสมัยที่สองของนาย Sanader ยังคงดำเนินนโยบายสายกลาง ค่อนไปทางอนุรักษ์นิยม ด้านการต่างประเทศส่งเสริมการมีสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกา และมุ่งให้โครเอเชียเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) และองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO) โดยหวังว่าจะสามารถบรรลุผลสําเร็จเข้าเป็นสมาชิก EU ได้ในปี 2553 สัาหรับภาระสำคัญเกี่ยวกับกิจกรรมภายในประเทศคือการพัฒนาที่รวดเร็ว ให้ความสนใจอย่างจริงจังต่อปัญหาสังคม ปฏิรูประบบศาลยุติธรรม และระบบบริหารให้มีความสมบูร์ และขจัดการฉ้อราษฏร์บังหลวง