
23
Jun
2025
ภูฏาน
เที่ยวภูฏาน งานระบำหน้ากากที่พาโรซอง และเทศกาลต่าง ๆ
พาทุกท่านเดินทางสู่การทัวร์ภูฏาน (Bhutan)ดินแดนแห่งมังกรสายฟ้า ที่ไม่ได้มีเพียงแค่การเยี่ยมชมทิวทัศน์อันตระการตาและอารามเก่าแก่เท่านั้น
แต่การท่องเที่ยวภูฏานยังเป็นการเปิดประสบการณ์สู่มิติทางวัฒนธรรมและจิตวิญญาณอันลึกซึ้งที่หาได้ยากยิ่ง
ซึ่งหนึ่งในหัวใจสำคัญที่ทำให้นักท่องเที่ยวหลายคนวางแผนมาทัวร์ภูฏาน
ก็เพื่อเข้าร่วมงานเทศกาลอันโด่งดังอย่างงานระบำหน้ากาก (Tshechu)
ที่จัดขึ้นตามซอง (Dzong) และวัดวาอารามทั่วประเทศ
เทศกาลนี้กล่าวได้ว่าเป็นมหกรรมแห่งศรัทธา สีสัน
และประเพณีที่สืบทอดมายาวนานหลายศตวรรษ
และแน่นอนว่าเราก็จะพาไปทำความรู้จักกับความสำคัญของเทศกาลเหล่านี้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทศกาล Paro Tshechu ที่จัดขึ้น ณ พาโรซอง
(Paro Dzong) ซึ่งเป็นหนึ่งในเทศกาลที่ยิ่งใหญ่และงดงามที่สุด
รวมไปถึงเทศกาลสำคัญอื่น ๆ ทั่วประเทศกันค่ะ
พาโรซอง (Paro Dzong) มรดกแห่งสถาปัตยกรรมและศูนย์รวมจิตใจของชาวภูฎาน
พาโรซอง (Paro Dzong)
พาโรซองเป็นตัวอย่างที่สมบูรณ์แบบของสถาปัตยกรรมซองแบบภูฏานแท้
ๆ โดยเป็นป้อมปราการขนาดใหญ่ที่ผสมผสานระหว่างป้อมปราการ อาราม
และศูนย์กลางการปกครองเข้าไว้ด้วยกัน
ซองแห่งนี้สร้างขึ้นโดยไม่ใช้ตะปูแม้แต่ตัวเดียว
แต่ใช้เทคนิคการประกอบไม้แบบโบราณที่สลับซับซ้อน ผนังหินที่หนาและแข็งแรง
เสริมด้วยหน้าต่างไม้ที่แกะสลักอย่างประณีต และหลังคาทรงสูงที่ปกคลุมด้วยไม้
พาโรซองตั้งตระหง่านอยู่บนเนินเขาที่มองเห็นหุบเขาพาโรและแม่น้ำพาโรชู (Paro
Chhu) ได้อย่างชัดเจน
ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์เป็นอย่างยิ่งในการป้องกันการรุกรานจากภายนอกในอดีต
ปัจจุบันพาโรซองยังคงทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการบริหารของเขตพาโร
และเป็นที่ตั้งของสถาบันสงฆ์ประจำเขต เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวภูฏานที่ได้รับความนิยมมากที่สุด
อีกทั้งยังเป็นสถานที่จัดงานเทศกาลและพิธีกรรมทางศาสนาที่สำคัญต่าง ๆ
โดยเฉพาะเทศกาลยิ่งใหญ่ประจำปีอย่างเทศกาลระบำหน้ากาก Tshechu (เชชู) เทศกาลทางศาสนาประจำปีที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อชาวภูฏาน
และยังเป็นเทศกาลที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกให้มาทัวร์ภูฏานกันค่ะ

เทศกาลระบำหน้ากาก Tshechu (เชชู) มหกรรมแห่งศรัทธาและสีสันแห่งภูฏาน
เทศกาลระบำหน้ากาก Tshechu (เชชู) มหกรรมแห่งศรัทธาและสีสันแห่งภูฏาน
เมื่อกล่าวถึงวัฒนธรรมภูฏาน
นอกจากวัดวาอารามแล้วสิ่งที่หลายคนนึกถึงก็คืองานเทศกาลนั่นเองค่ะ
ซึ่งเทศกาลระบำหน้ากาก Tshechu (เชชู) ที่พาโรซอง
เป็นเทศกาลทางศาสนาประจำปีที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อชาวภูฏาน
อีกทั้งยังเป็นประสบการณ์อันน่าตื่นตาตื่นใจสำหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาทัวร์ภูฏาน ซึ่งคำว่า Tshechu
(เชชู) หมายถึง "วันที่สิบ" บ่งบอกถึงวันที่จัดเทศกาลตรงซึ่งจะตรงกับวันที่สิบของเดือนตามปฏิทินจันทรคติของภูฏาน
โดยมักจะจัดขึ้นเพื่อถวายเกียรติแด่ คุรุรินโปเช (Guru Rinpoche) หรือปัทมสัมภวะ (Padmasambhava) พระลามะผู้ที่นำพุทธศาสนาเข้าสู่ภูฏานในช่วงคริสต์ศตวรรษที่
8 ซึ่งนอกจากการเผยแผ่พุทธศาสนาแล้ว
ท่านมีชื่อเสียงเป็นอย่างยิ่งในเรื่องการปราบปีศาจและสิ่งชั่วร้าย
โดยชาวภูฏานเชื่อกันว่าการได้ชมการเต้นระบำศักดิ์สิทธิ์ หรือที่เรียกว่า Cham
ในงาน Tshechu สามารถชำระล้างบาป
นำมาซึ่งบุญกุศล ความสงบสุข และความเจริญรุ่งเรือง เป็นเทศกาลประจำปีซึ่งเปิดโอกาสให้คนในท้องถิ่นได้มารวมตัวกัน
เพื่อเฉลิมฉลอง พบปะสังสรรค์ และเสริมสร้างสายสัมพันธ์ในชุมชน อีกทั้งยังเป็นเวทีสำคัญในการถ่ายทอดประเพณี
ศิลปะ และความเชื่อทางศาสนาจากรุ่นสู่รุ่น
ผู้ที่เข้ามาร่วมงานจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่สวยที่สุด
ซึ่งส่วนใหญ่แล้วผู้ชายจะแต่งกายด้วยชุดประจำชาติที่เรียกว่าโก (Gho) และผู้หญิงจะแต่งกายด้วยชุดประจำชาติ คิระ (Kira) พร้อมผ้าคลุมราชู
(Rachu)

การเต้นระบำหน้ากาก (Cham) หัวใจสำคัญของเทศกาล Tshechu
การเต้นระบำหน้ากาก หรือ Cham
คือ หัวใจสำคัญของเทศกาล Tshechu การเต้นรำเหล่านี้ไม่ใช่เพียงการแสดง
แต่เป็นการแสดงออกทางจิตวิญญาณที่ซับซ้อนและลึกซึ้ง
โดยพระภิกษุและฆราวาสที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างดีจะสวมชุดเสื้อผ้าสีสันสดใส
และสวมหน้ากากไม้ที่แกะสลักอย่างประณีต
การเต้นรำแต่ละชุดก็จะมีความหมายและเรื่องราวที่แตกต่างกันออกไป
โดยมักจะแสดงถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นในช่วงชีวิตของคุรุรินโปเช (Guru
Rinpoche) เรื่องราวทางศาสนา การปราบปีศาจ
การนำทางดวงวิญญาณไปสู่การตรัสรู้
หรือการแสดงออกถึงพลังของเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์
การเต้น Cham แบ่งออกเป็นหลายประเภท
เช่น การเต้นระบำของนักรบ (Pazaps Cham) แสดงถึงความแข็งแกร่งและความกล้าหาญ
การเต้นระบำของกวาง (Shaw Cham) แสดงถึงการปราบปีศาจแห่งความหลงผิด
การเต้นระบำกลอง (Drametse Nga Cham) จากอาราม Drametse
ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของ UNESCO
การเต้นระบำของ Atsara ตัวตลกที่มักปรากฏตัวในงานเทศกาล
มีบทบาทในการสร้างความบันเทิงให้กับผู้ชม สร้างสีสันให้กับบรรยากาศของงานเทศกาล
และบางครั้งก็แทรกสัจธรรมทางพุทธศาสนาด้วยอารมณ์ขันที่เสียดสี
การเข้าร่วมงานเทศกาลระบำหน้ากาก Tshechu จึงถือเป็นประสบการณ์ที่ล้ำค่าสำหรับนักท่องเที่ยวที่มาทัวร์ภูฏาน เป็นเทศกาลที่เราจะได้เห็นผู้คนแต่งกายด้วยชุดประจำชาติอันงดงาม สัมผัสพลังแห่งศรัทธาอันเข้มข้นที่มีมาตั้งแต่โบราณ และชื่นชมศิลปะการแสดงที่สืบทอดกันมาหลายช่วงอายุคน การวางแผนการเดินทางเที่ยวภูฏานให้ตรงกับช่วงเทศกาล Tshechu ก็จะช่วยเพิ่มมิติและประสบการณ์อันล้ำค่าให้กับการทัวร์ภูฏาน และเป็นโอกาสที่สำคัญสำหรับผู้ที่ต้องการสัมผัสวัฒนธรรมของภูฏานอย่างลึกซึ้งด้วยตนเอง

งานระบำหน้ากากที่พาโรซอง (Paro Tshechu) มหกรรมยิ่งใหญ่แห่งพาโรซอง
งานระบำหน้ากากที่พาโรซอง (Paro Tshechu)
ต้องบอกว่าในบรรดาเทศกาล Tshechu ทั้งหมดในภูฏาน
เทศกาลระบำหน้ากากที่พาโรซอง (Paro Tshechu) ถือเป็นหนึ่งในเทศกาลที่ยิ่งใหญ่และมีชื่อเสียงที่สุด
เป็นเทศกาลที่ดึงดูดทั้งชาวภูฏานและนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกให้มาชมความงดงามและสัมผัสพลังแห่งศรัทธาที่พาโรซอง
โดยเทศกาลนี้จะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งมักจะเป็นช่วงเดือนมีนาคมหรือเมษายนขึ้นอยู่กับปฏิทินจันทรคติ
โดยเทศกาล Paro Tshechu จะจัดขึ้นเป็นเวลา 5 วัน ในแต่ละวันจะมีพิธีกรรมและการแสดงที่แตกต่างกันไป
โดยไฮไลท์สำคัญของงานเทศกาลนี้ประกอบไปด้วยการเต้นระบำหน้ากาก (Cham) และการคลี่พระบฏผืนยักษ์ (Unfurling of the Thongdrol)

การเต้นระบำหน้ากาก (Cham)
การเต้นระบำหน้ากาก (Cham)
แน่นอนว่าไฮไลท์ของงานเทศกาลก็คงหนีไม่พ้นการเต้นระบำหน้ากาก
(Cham) นั่นเองค่ะ
โดยพระภิกษุและชาวบ้านที่ได้รับการฝึกฝน จะสวมหน้ากากและเครื่องแต่งกายที่วิจิตรบรรจง
ทำการเต้นรำเพื่อบอกเล่าเรื่องราวทางศาสนาและตำนานของคุรุรินโปเช
ซึ่งการเต้นรำเหล่านี้ไม่เพียงแต่เป็นการแสดง
แต่ยังเป็นการทำสมาธิและการปฏิบัติทางจิตวิญญาณ การเต้นรำมีหลากหลายรูปแบบ
เช่น Guru Tshengye ระบำเทพ 8 ปางของพระคุรุรินโปเช แสดงถึงพระพุทธะในรูปแบบต่าง ๆ Ging and
Tsholing การเต้นระบำของผู้พิทักษ์แห่งธรรมะ Shana Cham ระบำของนักบวชสวมหน้ากากสีดำ หรือที่เรียกกันว่า Dance of the
Black Hat (ระบำหมวกดำ) เป็นการขับไล่วิญญาณชั่วร้าย Raksha
Mangcham ระบำของเหล่าหัวกระโหลก แสดงถึงการปล่อยวางจากความกลัวตาย Durdag
Cham ระบำเทพแห่งความตาย ที่แสดงถึงความไม่เที่ยงของชีวิต
การเต้นรำแต่ละชุดก็มีจังหวะเฉพาะ
โดยจะใช้เครื่องดนตรีท้องถิ่นประกอบกับเพลงพื้นบ้านดั้งเดิม
และใช้ท่าทางที่มีความหมายเชิงสัญลักษณ์อันลึกซึ้ง

การคลี่พระบฏผืนยักษ์ (Unfurling of the Thongdrol)
การคลี่พระบฏผืนยักษ์ (Unfurling of the Thongdrol)
พิธีที่สำคัญที่สุดและเป็นไฮไลท์สุดยอดของเทศกาล Tshechu คือการคลี่พระบฏผืนยักษ์ที่เรียกว่า "ธงดรอล" (Thongdrol) หรือภาพแบบม้วนซึ่งเป็นพระบฏขนาดใหญ่ ที่มีความกว้างและความสูงหลายสิบเมตร ปักเป็นรูปคุรุรินโปเชปางต่าง ๆ ของพระองค์ หรือพระพุทธรูปสำคัญอื่น ๆ พิธีนี้จะจัดขึ้นในรุ่งเช้าของวันสุดท้าย (วันที่ห้า) โดยจะทำการคลี่เปิดผ้าในช่วงเช้าตรู่ก่อนที่แสงอาทิตย์จะตกกระทบผืนผ้า ชาวภูฏานเชื่อกันว่าการได้เห็นธงดรอลเพียงครั้งเดียวในชีวิต ก็สามารถชำระล้างบาปทั้งหมด ได้รับบุญสูงสุดในชีวิต และนำมาซึ่งการตรัสรู้ โดยธงดรอลจะถูกคลี่ออกเพียงไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้นก่อนที่จะพับเก็บไปจนถึงปีถัดไป ซึ่งผู้คนก็จะเดินทางมารอชมพิธีนี้กันตั้งแต่ก่อนรุ่งสางเลยค่ะ
สำหรับพิธีกรรมและกิจกรรมอื่น ๆ ที่น่าสนใจในเทศกาล Tshechu ได้แก่ การถวายเครื่องบูชาและการสวดมนต์โดยพระสงฆ์ตลอดทั้งวัน ในขณะที่ผู้คนจะแต่งกายด้วยชุดประจำชาติที่ดีที่สุดและประดับประดาด้วยเครื่องประดับแบบดั้งเดิม
ทำให้บรรยากาศของงานเทศกาลเต็มไปด้วยสีสันและความสวยงามน่าตื่นตาตื่นใจ รอบ ๆ
บริเวณงานเทศกาลมักจะมีตลาดเล็ก ๆ สำหรับขายอาหาร เครื่องดื่ม
และของที่ระลึกท้องถิ่น ใครที่มาทัวร์ภูฏานแล้วอยากสัมผัสกับชาวท้องถิ่นแท้
ๆ ตื่นตาตื่นใจไปกับเทศกาลที่สำคัญและยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศ
ไม่ควรพลาดเทศกาลนี้เป็นอย่างยิ่งค่ะ

การเตรียมตัวสำหรับการเยี่ยมชมเทศกาลระบำหน้ากากที่พาโรซอง (Paro Tshechu)
- ทำการจองล่วงหน้า หากวางแผนเที่ยวภูฏานในช่วงเทศกาล Paro Tshechu แนะนำให้จองตั๋วเครื่องบิน ที่พัก และทัวร์ภูฏานล่วงหน้ากันหลายเดือนหน่อยค่ะ เนื่องจากเป็นช่วงที่นักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้ามาจำนวนมาก
- ตรวจสอบปฏิทินเทศกาล เนื่องจากเทศกาลต่าง ๆ
ในภูฏานนั้น จะจัดขึ้นตามปฏิทินจันทรคติของภูฏาน
วันที่จัดงานจึงมีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละปี แนะนำให้ตรวจสอบปฏิทินเทศกาลประจำปีล่วงหน้าของภูฏานกันก่อนค่ะ
- เตรียมเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายที่สุภาพ การเข้าร่วมงานเทศกาล
Paro Tshechu ควรแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่สุภาพ
เสื้อผ้าต้องคลุมเข่าและไหล่
เพื่อให้เหมาะสมกับการเข้าชมสถานที่และร่วมพิธีทางศาสนา
- เตรียมพร้อมสำหรับฝูงชน ต้องบอกว่าเทศกาลนี้มีผู้คนเข้าร่วมเป็นจำนวนมากค่ะ
ดังนั้นจึงควรเผื่อเวลาสำหรับการเดินทาง
และเตรียมตัวสำหรับการยืนชมการแสดงที่เต็มไปด้วยฝูงชนคับคั่ง
- เคารพประเพณี ควรให้ความเคารพกฎระเบียบและประเพณีท้องถิ่น
เช่น ไม่ส่งเสียงดังขณะมีการประกอบพิธี ไม่แสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น

งานเทศกาลระบำหน้ากาก (Tshechu) อื่น ๆ ในภูฏาน
เทศกาลTshechu เป็นเทศกาลที่จัดขึ้นในหลาย
ๆ เมืองของภูฏาน ซึ่งนอกจากงานระบำหน้ากากที่พาโรซอง (Paro Tshechu) ก็ยังมีอีกหลายเมืองที่มีการจัดเทศกาลด้วยเช่นกัน ที่เด่น ๆ ก็ได้แก่
- Thimphu Tshechu จัดขึ้นในฤดูใบไม้ร่วงประมาณเดือนกันยายนหรือตุลาคมของทุกปี
จัดขึ้นที่ Trashi Chhoe Dzong ซึ่งเป็นพระราชวังและศูนย์กลางราชการ
มีการเต้นระบำ Cham ที่หลากหลายและพิธีกรรมทางศาสนาที่สำคัญ
- Punakha Tshechu จัดขึ้นที่พูนาคาซอง
(Punakha Dzong) ในช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิ ประมาณเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม
มีการแสดงระบำหน้ากากและพิธีกรรมต่าง ๆ
ที่งดงามด้วยฉากหลังของพูนาคาซองอันยิ่งใหญ่
- Wangdue
Phodrang Tshechu จัดขึ้นที่ วังดู โพดรัง (Wangdue Phodrang
Dzong) ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงประมาณเดือนกันยายน โดยมีไฮไลท์คือ
"Raksha Mangcham" หรือระบำวัว
ที่เป็นเอกลักษณ์ของภูมิภาคนี้
- Kurjey Tshechu จัดขึ้นที่
วัดกูร์เจ ลาคัง (Kurjey Lhakhang) ในเมืองบุมทัง (Bumthang)
ในช่วงฤดูร้อนประมาณเดือนมิถุนายน
เพื่อรำลึกถึงรอยประทับกายที่คุรุรินโปเชได้ประทับไว้ในถ้ำศักดิ์สิทธิ์ของวัด
มีการเต้นระบำและพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการปราบปีศาจ
- Gangtey Tshechu หรือ
Black Necked Crane Festival จัดขึ้นที่อารามกังเตย์ (Gangtey
Monastery) ในหุบเขาพอบจิกา (Phobjikha Valley) ประมาณช่วงปลายฤดูใบไม้ร่วงหรือประมาณเดือนกันยายน
ที่นี่เป็นงานเทศกาลระบำหน้ากากที่ค่อนข้างเงียบสงบกว่าที่อื่น
แต่ก็เต็มเปี่ยมไปด้วยความศักดิ์สิทธิ์
- Druk Wangyel
Tshechu เทศกาลพิเศษที่จัดขึ้นโดยกองทัพภูฏานแทนที่จะเป็นพระภิกษุหรือฆราวาส
เพื่อยกย่องความเป็นผู้นำที่ชาญฉลาดของสมเด็จพระราชาจิกมี ซิงเย วังชุก
พระมหากษัตริย์องค์ที่ 4 ของภูฏาน
นอกจากนี้ยังเฉลิมฉลองความพยายามอย่างต่อเนื่องของกองทัพภูฏานในการปกป้องอธิปไตยและความมั่นคงของประเทศ
จัดขึ้นใกล้กับช่องเขา Dochula จุดชมวิว 108 สถูป โดยมีฉากหลังเป็นเทือกเขาหิมาลัยอันงดงาม
- Jambay Lhakhang
Drup เทศกาลที่มีความศักดิ์สิทธิ์และมีชื่อเสียงในเรื่อง
"Mewang" หรือระบำไฟ (fire dance) ที่ผู้เข้าร่วมต้องกระโดดข้ามกองไฟเพื่อชำระล้างบาป และมีการเต้นระบำ
"Tercham" ซึ่งเป็นการเต้นระบำหน้ากากเปลือยโดยพระสงฆ์บางรูปที่ปกปิดเพียงน้อยนิด
สื่อถึงการปล่อยวางจากกิเลส ที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์อย่างยิ่ง
โดยจัดขึ้นที่วัดจัมปา ลาคัง (Jambay Lhakhang) เมืองบุมทัง
(Bumthang) ในช่วงปลายฤดูใบไม้ร่วง
(ตุลาคมหรือพฤศจิกายน)
- Trongsa Tshechu จัดขึ้นที่
Trongsa Dzong ซึ่งเป็นซองใหญ่ที่สุดของภูฏาน
และเป็นต้นกำเนิดของราชวงศ์วังชุก การแสดงระบำมีความประณีต
เต็มไปด้วยความขลัง และมีการคลี่ Thongdrol ผ้าพระบฏยักษ์อันศักดิ์สิทธิ์ในวันสุดท้าย
เทศกาลอื่น ๆ ที่น่าสนใจในภูฏาน
นอกจากงานระบำหน้ากาก (Tshechu) แล้ว
ภูฏานยังมีการจัดงานเทศกาลอื่น ๆ ที่น่าสนใจอีกมากมาย
ซึ่งหมุนเวียนกันจัดขึ้นตลอดทั้งปีในภูมิภาคต่าง ๆ
โดยงานเทศกาลที่จัดขึ้นในแต่ละแห่งก็ล้วนมีความสำคัญและเอกลักษณ์เฉพาะตัว
การวางแผนทัวร์ภูฏานให้ตรงกับงานเทศกาลเหล่านี้
ก็จะช่วยเพิ่มความน่าสนใจและเพิ่มสีสันให้กับการเดินทางได้เป็นอย่างมากเลยค่ะ
ยกตัวอย่างงานเทศกาลที่น่าสนใจ เช่น
- Punakha
Dromchoe เทศกาลเก่าแก่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์
โดยมักจะจัดขึ้นในช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิประมาณเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม
บริเวณพูนาคาซอง (Punakha Dzong) มีการแสดงซึ่งจำลองการสู้รบกับกองทัพทิเบตที่พูนาคาซองในศตวรรษที่
17
- Haa Summer
Festival จัดขึ้นที่หุบเขาฮา (Haa Valley) ในช่วงเดือนกรกฎาคม
เป็นเทศกาลเฉลิมฉลองวัฒนธรรมของชนเผ่า Nomad หรือชนเผ่าเร่ร่อน
มีกิจกรรมพื้นบ้าน เช่น การแข่งยิงธนู ทำเนยตัดจากนมจามรี (Yak) เป็นต้น
- Rhododendron
Festival เทศกาลกุหลาบพันปีหรือดอก Rhododendron จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองการบานสะพรั่งของดอกกุหลาบพันปีในฤดูใบไม้ผลิ
ในสวนพฤกษศาสตร์ Lampelri ซึ่งอยู่ห่างจากทิมพูประมาณ 35
กิโลเมตร มีกุหลาบพันปีจัดแสดงกว่า 46 สายพันธุ์
นอกจากนิทรรศการดอกกุหลาบพันปีแล้ว ยังมีการแสดงวัฒนธรรมและอาหารท้องถิ่น
การแข่งขันกีฬาแบบดั้งเดิม การเต้นรำพื้นเมือง เป็นต้น
- Matsutake
Mushroom Festival ภูฏานมีชื่อเสียงมากในด้านการเก็บเกี่ยวเห็ดในช่วงกลางเดือนสิงหาคม
โดยเฉพาะเห็ดมัตสึเกะ จัดขึ้นที่ Genekha ในเมืองทิมพูและหุบเขา
Ura ในเมือง Bumthang มีการจัดแสดงเห็ดพื้นเมืองและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นอื่น
ๆ รวมไปถึงการเก็บเห็ดในป่าและเนินเขาที่อุดมสมบูรณ์